Monthly Archives: August 2014

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ให้บริการด้านสุขภาพหรือทางการแพทย์

การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้ หรือตรวจโรคผ่านระบบ ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป เมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลบริการสุขภาพสู่ยุค Health 3.0

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือ Health Information evolution นั้น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของวงการแพทย์และสาธารณสุขมีทั้งสิน 3 ยุค ด้วยกัน

โดยยุคแรก เริ่มจากการพัฒนาระบบ Health 1.0 ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ให้อยู่ในรูปของเอกสารซึ่งเอกสารทุกอย่างจะอยู่ที่โรงพยาบาลในลักษณะที่เป็น Physical centric ขณะที่ยุคที่ 2 เป็นยุค Health 2.0 เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บข้อมูลคนไข้ในลักษณะเป็นเวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์และเวชทะเบียนส่วน บุคคล (Electronics Medical Records & Personal Health Records) รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการและการบริหารงานในโรงพยาบาลและสาธารณสุข มีการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วงของการโอนถ่ายการใช้เทคโนโลยี มาสู่ Health 2.0

อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้วงการแพทย์มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค Health 3.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลและช่วยจัดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริการทางการแพทย์มุ่งสู่การให้บริการปัจเจกชน โดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการดูแลรักษาสุขภาพ หรือ Patient centric ที่การรักษาพยาบาลรวมถึงการจ่ายยาสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย