เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการแพทย์และสุขภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางด้านการแพทย์และสุขภาพได้หลายอย่างหลายด้าน ตัวอย่างเช่น
– ด้านยารักษาโรค เช่น การนำความรู้มาประยุกต์กันระหว่างทาง
เทคโนโลยีชีวภาพกับสมุนไพรหรือสมุนไพรไทย จนสามารถทำยารักษาโรคตัวใหม่ได้
– ด้านการป้องกันโรค เช่น การตรวจดีเอ็นเอ(DNA) เพื่อวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมของพ่อแม่เพื่อดูว่าบุตรที่เกิดมาจะมีโอกาสเกิดโรคทางพันธุกรรมใดๆหรือไม่ หรือ การทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
– ด้านการวินิจฉัยหาสาเหตุโรค เช่น การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ หรือ การตรวจดีเอ็นเอ(DNA) เพื่อวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม
– ด้านการรักษาโรค เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพกับการรักษาโรคเบาหวาน

รวมถึงการประยุกต์รวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพกับทางด้านการแพทย์ มาใช้ในงานทางด้านกฏหมายอย่างงานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หลักฐาน พิสูจน์หลักฐาน หรือ ในการสืบสวนคดี รวมถึงการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การพิสูจน์เครือญาติด้วย ดีเอ็นเอ(DNA)

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายด้านเช่น
1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า
2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย
4.เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต