Category Archives: เทคโนโลยีด้านสุขภาพ

แนวโน้มที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ

ประเด็นสุขภาพที่โลกกำลังจับตามอง หรือแนวโน้มงานการสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion Trends) ต่อไปนี้ คือ แนวโน้มที่จะ เปลี่ยนโฉมหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ
1. สุขภาพเคลื่อนที่ได้ (Mobile Health) ภาคส่วนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ นำเสนอคำสัญญาให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากที่สุด มันไม่ได้เกินเลยที่จะกล่าวว่าการถือครองของอุปกรณ์ที่มีแอพพลิเคชั่นด้านสุขภาพในมือถือประเภทสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต ของบรรดาแพทย์และผู้บริโภคเป็นดั่งกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลง จากการสำรวจของ Pricewaterhouse Coopers (PwC) และจากแพทย์ทั้งในประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก โดยคร่าว ๆ ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคทำนายว่าภายในสามปีข้างหน้าสุขภาพแบบเคลื่อนที่ได้นี้จะช่วยปรับปรุงความสะดวกสบาย (ร้อยละ 46) มีต้นทุนลดลง (ร้อยละ 52) และคุณภาพ (ร้อยละ 48) ในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ
2. บันทึกเวชระเบียนส่วนตัว (Personal health records) จะมาในรูปแบบของ เวชระเบียนแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ เครื่องมือนี้จะเชื่อมเวชระเบียนส่วนตัวเข้ากับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนกลาง ยกตัวอย่างข้อมูลที่จะมีก็คือ สถิติจำนวนประชากร อาการแพ้ต่าง ๆ ยา สัญญาณการเจ็บป่วย ประวัติครอบครัวและสังคม กระบวนการ การทดสอบจากห้องทดลอง และแผนการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น
3. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบดูแลรักษาสุขภาพใหญ่ ๆ หลายแห่ง ได้สร้างสัมพันธ์กับบริษัทให้บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อจัดหาให้บริการแก่แพทย์ในเรื่องโทรศัพท์และการให้คำปรึกษาผ่านระบบวิดีโอ
4. เหล่าผู้ให้บริการจัดทำเวชระเบียนอิเลกทรอนิกส์ จะประสบกับภาวะที่ต้องอยู่ให้ได้ในภาวะ การแข่งขันทางการตลาดที่สูง ผู้ให้บริการที่กระโจนลงไปเล่นในธุรกิจนี้เร็วเกินไป และไม่สามารถให้บริการ ตามที่ได้สัญญาไว้ ก็จะประสบกับความไม่แน่นอนทางธุรกิจ กลับกันสำหรับบริษัทที่อยู่รอดได้ก็จะพัฒนาต่อไปได้ และในที่สุดก็จะปรับปรุงให้บริการการดูแลแก่ผู้ป่วย
5. วิเคราะห์วิทยาด้านการแพทย์ (Clinical Analytics) ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ตามไม่ทันวิเคราะห์วิทยาด้านการแพทย์ที่เป็นสาระหนัก ๆ หลาย ๆ ระบบสามารถแพร่กระจายรายงานที่ง่าย ๆ แต่มันไม่เพียงพอที่จะตอบรับกับอุปสงค์ของผู้ให้บริการเพื่อให้ตอบโจทย์กฎข้อบังคับของรัฐบาล ในเรื่องความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันและผลงานด้านการแพทย์

โรงพยาบาลหลาย ๆ แห่ง จะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการใช้เครื่องมือวิเคราะห์วิทยา ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ในปี 2011 โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาใช้เครื่องมือวิเคราะห์วิทยาข้อมูลด้านสุขภาพเพียงแค่ร้อยละ 10 แต่ตัวเลขจะพุ่งสูงขึ้นไปแตะที่ราวร้อยละ50 ในปี 2016

 

เทคโนโลยีกับการดูแลสุขภาพของคนรุ่นใหม่

เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ สำหรับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายออกมา เอาใจคนรุ่นใหม่ และตอบโจทย์การทำงานอย่างหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งยังสามารถเพิ่มเติมความหลากหลายให้กับผู้บริโภคได้เลือกใช้ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถนำเอาความทันสมัยด้านเทคโนโลยีและการดูแลสุขภาพ มาผสมผสานกัน จนอกมาเป็นการดูแลสุขภาพ แต่จะมีอะไรบ้างเดี๋ยวมาดูกันเลย

1.เทคโนโลยี รีบ็อค เช็คไลท์ Reebok Checklight เป็นเทคโนโลยีพิเศษ ที่แบรนด์กีฬาดังอย่างรีบ็อค ได้เอาใจใส่สุขภาพคนทั้งโลกด้วยการออกแบบอุปกรณ์ตรวจสอบการกระแทก โดยผลิตออกมานรูปแบบของหมวก

2.ลูโม ลิฟท์ วิลล์ เมค ยู สแตนด์ เสตรจเทอร์ Lumo Lift Will Make You Stand Straighter เป็นอุปกรณ์เสริมที่สามารถติดตั้งบนเสื้อผ้า เพื่อตรวจเช็คกระดูกสันหลังและบุคลิกของแต่ละคน พร้อมทั้งคำนวณแคลอรี่ในการทานอาหารได้ด้วย

3.ทาโอ เอ็กเซอร์ไซส์ ดีไวซ์ Tao Exercise Device อุปกรณ์คอนเน็คท์เพื่อการออกกำลังกายสุดพิเศษ ที่ให้คุณสามารถออกกำลังกายได้อย่างอย่างดาย โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นตัวออกคำสั่งเพียงคุณถือไว้ในมือเท่านั้น

4.เจย์เบิร์ด เรจ์น ฟิตเนส แทร็คเกอร์ Jaybird Reign Fitness Tracker อุปกรณ์สำหรับการฟิตเนส ที่ออกแบบมาให้สามารถเช็คสภาพร่างกายของแต่ละคนให้มีความพร้อมก่อนออกกำลังกาย

5.แอลจี ฮาร์ท เรท เอียร์โฟน LG Heart Rate Earphones อุปกรณ์วัดชีพจร ที่สามารถตรวจสอบการเต้นของหัวใจได้ง่าย เพียงใส่หูฟังที่มีลักษณ์เป็นเฮดโฟน พร้อมทั้งยังสามาเช็คอัตราการเต้นของหัวใจได้

และนี่ก็คือเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพของแต่ละคน โดยออกแบบมาให้มีความทันสมัย เอาใจคนที่รักทั้งกีฬาและเทคโนโลยี เป็นการเพิ่มความมั่นใจในการออกกำลังกายสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเริ่มออกกำลังกาย ไปพร้อมกับเทคโนโลยีพิเศษ ที่จะสร้างความสนุกสนานในการออกกำลังกายให้คุณได้มากขึ้นกว่าเดิม

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการให้บริการการแพทย์มากขึ้น

.1

การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้ หรือตรวจโรคผ่านระบบ ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป เมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล

โดยยุคแรก เริ่มจากการพัฒนาระบบ Health 1.0 ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ให้อยู่ในรูปของเอกสารซึ่งเอกสารทุกอย่างจะอยู่ที่โรงพยาบาลในลักษณะที่เป็น Physical centric ขณะที่ยุคที่ 2 เป็นยุค Health 2.0 เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บข้อมูลคนไข้ในลักษณะเป็นเวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์และเวชทะเบียนส่วน บุคคล รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการและการบริหารงานในโรงพยาบาลและสาธารณสุข มีการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วงของการโอนถ่ายการใช้เทคโนโลยี มาสู่ Health 2.0

อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้วงการแพทย์มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค Health 3.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลและช่วยจัดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริการทางการแพทย์มุ่งสู่การให้บริการปัจเจกชน โดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการดูแลรักษาสุขภาพ หรือ Patient centric ที่การรักษาพยาบาลรวมถึงการจ่ายยาสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการให้บริการการแพทย์ ในประเทศไทยเองได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเสริม เพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะกับประชาชนผู้ที่อยู่ห่างไกล และเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบการแพทย์ทางไกล นับว่าเข้ามามีส่วนสำคัญที่ทำให้การรักษาพยาบาลภายในประเทศเกิดความเสมอภาพและเท่าเทียมกัน

การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกรากฟันเทียม

dental_implant_01
ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีระบบรากเทียมมากมายเพื่อการรักษาทันตกรรมรากเทียม โดยมีความแตกต่างกันในยี่ห้อ ชื่อเสียงและประวัติความสำเร็จในการรักษา วัสดุที่ใช้และเทคโนโลยีในการผลิต รวมทั้งความหลากหลายในรูปร่าง และขนาดของรากเทียมที่ออกแบบเพื่อความเหมาะสมต่อตำแหน่งและการใช้งาน การทำรากฟันเทียม เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมที่ทำภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้อาจก่อให้เกิดความเครียดต่อคนไข้ได้ การใช้ก๊าซ ไนตรัสออกไซด์หรืออาจเป็นยาสงบประสาท อาจถูกนำมาใช้ได้ในบางกรณี ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและสบายขึ้น

ในการทำรากฟันเทียมที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น เช่น ในกรณีที่มีการเติมปริมาณกระดูก อาจพิจารณาใช้การดมยาสลบสำหรับคนที่กลัวการทำฟันมากๆได้ โดยจะต้องอาศัยบุคคลากรที่ชำนาญการโดยเฉพาะ เมื่อเหงือกและเนื้อเยื่อหมดความรู้สึก ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือออกอย่างระมัดระวัง แล้วกรอกระดูกจนมีขนาดพอเหมาะกับรากฟันเทียมที่เลือกไว้ แล้วใส่รากฟันเทียมลงไป จากนั้นก็จะเย็บปิดเหงือกด้านบนเอาไว้ รอเวลาให้แผลหาย โดยในระหว่างนี้อาจมีฟันปลอมให้ใช้งานไปก่อนได้

ข้อดีของการปลูกรากฟันเทียม

– ช่วยเพิ่มความมั่นใจและคุณภาพชีวิต ลดขนาดและรูปร่างพร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมชาติมากขึ้นแก่สะพานฟันและฟันปลอม
– ลดปัญหาการเสียเนื้อฟันซึ่งมีความจำเป็นในการทำสะพานฟันแบบทั่วไป
– ความแข็งแรงและมั่นคงของรากฟันเทียมช่วยเพิ่มความสามารถในการบดเคี้ยวทำให้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้ตามต้องการ
– ช่วยเพิ่มความมั่นใจรวมถึงประสิทธิภาพในการออกเสียงและสนทนา
– มีความสะดวกสบายกว่าการใส่ฟันปลอมแบบทั่วไป
– ช่วยป้องกันการสูญเสียฟันบริเวณข้างเคียงและกระดูกรองรับอันเกิดจากการสูญเสียฟัน
– ช่วยส่งเสริมบุคลิก ทำให้แลดูอ่อนเยาว์ และให้ความสวยงามที่ดูเป็นธรรมชาติ
– ช่วยให้สุขภาพของช่องปากดีขึ้น มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รวมถึงมีความทนทานสูง
– ลดปัญหาการเคลื่อนตัว การหลุดออก และความกังวลใจเกี่ยวกับการเลื่อนหลุดของฟันปลอม

เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการแพทย์และสุขภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางด้านการแพทย์และสุขภาพได้หลายอย่างหลายด้าน ตัวอย่างเช่น
– ด้านยารักษาโรค เช่น การนำความรู้มาประยุกต์กันระหว่างทาง
เทคโนโลยีชีวภาพกับสมุนไพรหรือสมุนไพรไทย จนสามารถทำยารักษาโรคตัวใหม่ได้
– ด้านการป้องกันโรค เช่น การตรวจดีเอ็นเอ(DNA) เพื่อวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมของพ่อแม่เพื่อดูว่าบุตรที่เกิดมาจะมีโอกาสเกิดโรคทางพันธุกรรมใดๆหรือไม่ หรือ การทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
– ด้านการวินิจฉัยหาสาเหตุโรค เช่น การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ หรือ การตรวจดีเอ็นเอ(DNA) เพื่อวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม
– ด้านการรักษาโรค เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพกับการรักษาโรคเบาหวาน

รวมถึงการประยุกต์รวมความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพกับทางด้านการแพทย์ มาใช้ในงานทางด้านกฏหมายอย่างงานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หลักฐาน พิสูจน์หลักฐาน หรือ ในการสืบสวนคดี รวมถึงการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การพิสูจน์เครือญาติด้วย ดีเอ็นเอ(DNA)

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพ มีหลายด้านเช่น
1. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยไม้ การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า
2. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
3. เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การลดการใช้สารเคมีที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตไปทำปุ๋ยหรือการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเสีย
4.เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต

การนำระบบการแพทย์ทางไกลมาใช้ยังเป็นทางเลือกในการให้บริการกับประชาชนอีกทางหนึ่ง

1

เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อการให้บริการการแพทย์ ในประเทศไทยเองได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเสริม เพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะกับประชาชนผู้ที่อยู่ห่างไกลและเทคโนโลยีเครือข่ายและระบบการแพทย์ทางไกล นับว่าเข้ามามีส่วนสำคัญที่ทำให้การรักษาพยาบาลภายในประเทศเกิดความเสมอภาพและเท่าเทียมกัน ยุทธ โพธารามิก รองเลขาธิการ มูลนิธิอาสาสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี กล่าวว่า มูลนิธิอยู่ระหว่างการทดลองโครงการระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อเป็นการให้คำปรึกษาและการสื่อสารระหว่างแพทย์ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกับสถานีอนามัยทดลองใน 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือได้และตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสถานีอนามัยเข้าร่วมโครงการ ทดลอง 45 แห่งโดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข การสื่อสารแห่งประเทศไทยและบริษัท QualCom ซึ่งเป็นผู้จัดหาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คให้กับแพทย์และสถานีอนามัย โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินงานภายในปีนี้และจะใช้ระยะเวลาในการทดลองโครงการเป็นเวลา 2 ปี คิดว่ามูลนิธิ พอ.สว. เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การบริการสาธารณสุขพื้นฐาน ให้กับประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้นและการนำระบบการแพทย์ทางไกลมาใช้ยังเป็นทางเลือกในการให้บริการกับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย

ไม่เพียงแต่มูลนิธิ พอ.สว. เท่านั้นศูนย์วิจัยและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ก็เป็นอีกหน่วยงานสาธารณสุขที่ได้นำเอาเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาช่วยเสริมบริการทางการแพทย์ให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โดยศูนย์ได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในการทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการวิจัยและพัฒนา ระบบการแพทย์ทาไกล ซึ่งในระยะแรกจะมุ่งเน้นการจัดทำระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อสร้างเครือข่ายความเร็วสูงในการส่งผ่านภาพถ่ายจากเครื่อง PET-CT ไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่ออ่านผลและวินิจฉัยภาพถ่ายเซลล์มะเร็งผ่านระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานเทคโนโลยีทางการแพทย์และพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการรักษาพยาบาลในประเทศขณะที่ระบบการแพทย์ทางไกล มีการพัฒนาขึ้น การนำเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่มาใช้ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และระบบที่เรียกว่า Medical Grid นับเป็นอีกก้าวของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ไทย ทีจะทำให้การรักษาพยาบาลสามารถทำได้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

วิกฤตสุขภาพจากเทคโนโลยี

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราค่อนข้างมาก แม้ว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้ชีวิตดียิ่งขึ้น หากแต่การใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น และเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆนาๆ

1. หูดับเพราะโทรนาน

เชื่อหรือไม่ว่าการใช้โทรศัพท์พูดคุยกันตลอดเวลานั้นสามารถทำร้ายหูของเราได้ ดังกรณีของคนที่เคยใช้โทรศัพท์มือถือนานกว่า 3,000 นาที (ประมาณ 50 ชั่วโมง) ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนอาจส่งผลให้หูสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือเรียกว่าอาการหูดับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะก็จะกลับมาได้ยินเป็นปกติแต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่าเดิม และอาจมีโอกาสเกิดอาการหูดับได้อีก นอกจากนี้เครื่องเล่นเพลงชนิดพกพาและโทรศัพท์มือถือ ยังก่อให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกัน เนื่องจากเสียง ความร้อน และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าล้วนเป็นตัวการทำร้ายระบบการได้ยิน ความดังที่เหมาะสมต่อสุขภาพหูคือ ไม่ควรเกิน 70 เดซิเบล

2. ตาเสื่อมก่อนวัยจากโทรทัศน์

การดูโทรทัศน์ที่มีภาพเคลื่อนไหว มีแสงจ้ามาก และการดูในที่มืดทำให้สายตาต้องคอยปรับโฟกัส ปรับความมืดและสว่างสลับไปมา และยังทำให้ม่านตาต้องทำงานตลอดเวลา ส่งผลให้ปวดตาง่ายกว่าปกติ และทำให้ส่วนต่างๆ ในดวงตาเสื่อมก่อนเวลาอันควร ไม่ว่าจะเป็นวุ้นในลูกตาหรือจอประสาทตา ปัญหาดังกล่าวทำให้การมองเห็นค่อยๆ ลดลงและยังเสี่ยงตาบอดในที่สุด

3. จากภูมิแพ้สู่ไซนัสเพราะห้องปรับอากาศ

แม้เครื่องปรับอากาศทั้งในอาคารและยานพาหนะจะให้ความเย็นสบายและช่วยฟอกอากาศ แต่หากไม่ได้ทำความสะอาด ก็กลับเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี

4. เล่นเกมสนุกจนกล้ามเนื้ออักเสบ

เกมบังคับและโทรศัพท์มือถือชนิดมีแป้นพิมพ์ขนาดเล็กกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ แม้จะสร้างความสนุกสนานแก่ผู้ใช้ แต่ก็สามารถทำร้ายสุขภาพได้ เอ็นข้อมืออักเสบ นิ้วมืองอติด (Trigger Finger)

5. สมองถดถอยเพราะใช้เทคโนโลยี

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีใช้งานง่ายอื่นๆ อีก เช่น เครื่องคิดเลข โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อสมองได้

6. คอมพิวเตอร์

นอกจากคอมพิวเตอร์จะเพิ่มโอกาสให้เกิดอาการตาเสื่อมก่อนวัยได้เช่นเดียวกับโทรทัศน์แล้ว การใช้คอมพิวเตอร์ยังก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย

เทคโนโลยีกระชับสัดส่วนและกำจัดไขมันที่จะช่วยให้คุณมีรูปร่างที่ดี

มนุษย์ในยุคสมัยนี้ มีความโชคดีเรื่องสุขภาพ ด้วยมีเทคโนโลยีที่สามารถทำนายสุขภาพในอนาคต เพื่อป้องกันล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเกิดโรค ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้อย่างไรและคุ้มค่าหรือไม่

เพราะใครๆ ก็อยากมีรูปร่างดี มีสัดส่วนกระชับ ผิวพรรณเรียบเนียนไร้เซลลูไลท์ หนุ่มสาวสมัยนี้จึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ ไม่เฉพาะหน้าตาเท่านั้น แต่รูปร่างก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะโอกาสที่ดีมักจะมีให้กับคนที่พร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องความรัก หรือเรื่องอื่น ๆ คนที่มีความพร้อมทั้งภาพลักษณ์ดี บุคลิกดี สุขภาพดี บวกกับความสามารถที่เต็มเปี่ยม ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับสิ่งที่ดีมากกว่าคนที่ปล่อยให้ตัวเองอ้วนเผละ สะโพกเบอะ ขาใหญ่เต็มไปด้วยเซลลูไลท์ แขนหย่อนยานไม่กระชับ ตอกย้ำภาพลักษณ์และบุคลิกที่ไม่ได้ส่งเสริมในเรื่องใดๆ ไม่ว่าจะเป็นงานและชีวิตส่วนตัว ถึงแม้ความสามารถจะมีมากแค่ไหนคุณก็อาจจะถูกมองข้ามไปได้ง่าย ๆ ดังนั้น การดูแลรูปร่างจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งการลดน้ำหนักหรือกำจัดไขมันส่วนเกินอาจจะไม่ได้ง่ายเสมอไป เพราะการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำมาก ๆ ที่เป็นพื้นฐานของการมีรูปร่างและสุขภาพที่ดี ก็อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการมีรูปร่างและสัดส่วนที่กระชับ ดังนั้น จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีกระชับสัดส่วนเข้ามาช่วยในการดูแลไปพร้อม ๆ กันด้วย

สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงของความสวยความงาม เข้าออกตามคลินิกเสริมความงามเป็นประจำ หรือคอยอัพเดทข่าวสารผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็จะเห็นได้ว่ามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยในเรื่องการดูแลรักษารูปร่างทำให้หุ่นเฟิร์มกระชับหลากหลาย จนอาจทำให้เกิดความสับสนและแยกไม่ออกว่าเทคโนโลยีแต่ละประเภทเป็นอย่างไร สามารถช่วยแก้ปัญหาตรงจุดไหนได้บ้าง ซึ่งถ้าคุณต้องการมีสัดส่วนกระชับได้อย่างใจ ก็อาจต้องใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลรายละเอียดกันสักนิด เพื่อที่จะได้รับผลการรักษาที่พึงพอใจมากที่สุด เพราะปัญหาเรื่องรูปร่างไม่ได้มีเพียงแค่คุณมีน้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องของไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ปัญหาเซลลูไลท์หรือผิวเปลือกส้ม เจ้าก้อนไขมันที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้เพียงแค่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องใช้นวัตกรรมทางการแพทย์มาช่วยในการดูแลรักษาไปพร้อมๆ กันด้วย

การแพทย์ยุคใหม่ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี บริการสุขภาพสู่ยุค Health 3.0

การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยี

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือ Health Information volution นั้น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของวงการแพทย์และสาธารณสุขมีทั้งสิน 3 ยุค ด้วยกัน

โดยยุคแรก เริ่มจากการพัฒนาระบบ Health 1.0 ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ให้อยู่ในรูปของเอกสารซึ่งเอกสารทุกอย่างจะอยู่ที่โรงพยาบาลในลักษณะที่เป็น Physical centric ขณะที่ยุคที่ 2 เป็นยุค Health 2.0 เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บข้อมูลคนไข้ในลักษณะเป็นเวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์และเวชทะเบียนส่วน บุคคล (Electronics Medical Records & Personal Health Records) รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการและการบริหารงานในโรงพยาบาลและสาธารณสุข มีการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วงของการโอนถ่ายการใช้เทคโนโลยี มาสู่ Health 2.0

อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้วงการแพทย์มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค Health 3.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลและช่วยจัดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริการทางการแพทย์มุ่งสู่การให้บริการปัจเจกชน โดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการดูแลรักษาสุขภาพ หรือ Patient centric ที่การรักษาพยาบาลรวมถึงการจ่ายยาสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย

ไมโครซอฟท์ส่งเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพที่บ้านออกสู่ตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ ถือเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องโดยที่ผ่านมามีการต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีโดยซื้อกิจการของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศทางแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพระดับองค์กร ไมโครซอฟท์เชื่อว่าประเทศไทยเป็นฐานที่ดีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการลงทุนในไทยจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาคได้อย่างมาก ความพยามในการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งเสริมวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยสร้างงาน และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ด้วยนวัตกรรมทางด้านไอทีนั้นจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทางการแพทย์ในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นไมโครซอฟท์จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมด้านนี้ เพื่อนำเทคโนโลยีมาช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า ไมโครซอฟท์อมัลก้า (Amalga) ซึ่งเป็นระบบ Unified Intelligence ที่มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการจัดการกับความต้องการข้อมูลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ช่วยให้องค์กรด้านสาธารณสุขสามารถดำเนินกลยุทธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว

“แนวโน้มของเทคโนโลยีที่บริษัทให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่นำมาใช้โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึง 3 พันล้านคนทั่วโลกและยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่จะเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ และขยายการให้บริการทางด้านสุขภาพให้เข้าถึงตัวคนไข้ในทุกที่ ทุกเวลาได้มากยิ่งขึ้น”

การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขในปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา

การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้ หรือตรวจโรคผ่านระบบ ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป เมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล

โดยเทคโนโลยี Medical Grid ดังกล่าว เป็นการพัฒนาระบบที่รวบรวมประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลส่วนที่เหลือ เพื่อมาใช้ประโยชน์และสร้างเป็นพลังประมวลผลที่มีความเร็วสูง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือ Server ที่มีราคาสูงมาใช้ ทำให้ง่ายต่อการขยายระบบในอนาคต และเทคโนโลยีกริดนี้ทำให้เกิดการพัฒนาที่เรียกว่าองค์กรเสมือนหรือ Virtual organization ซึ่งทำให้การค้นหาและสืบค้นข้อมูลทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

การนำเทคโนโลยีกริดมาใช้ในวงการแพทย์จึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ที่กระจายในหลายๆ สถานพยาบาลทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างโรงพยาบาลสามารถทำได้ง่ายขึ้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถดึงประวัติคนไข้ แม้จะอยู่ต่างสถานพยาบาลกัน มาเป็นข้อมูลเพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีขณะนี้มีความพยายามในการสร้างระบบเครือข่าย Medical Grid ซึ่งในประเทศไทยซึ่งหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาพยาบาลที่มีความถูกต้องแม่นยำ สะดวก รวดเร็วด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยียุคใหม่

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ให้บริการด้านสุขภาพหรือทางการแพทย์

การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้ หรือตรวจโรคผ่านระบบ ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป เมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลบริการสุขภาพสู่ยุค Health 3.0

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือ Health Information evolution นั้น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของวงการแพทย์และสาธารณสุขมีทั้งสิน 3 ยุค ด้วยกัน

โดยยุคแรก เริ่มจากการพัฒนาระบบ Health 1.0 ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ให้อยู่ในรูปของเอกสารซึ่งเอกสารทุกอย่างจะอยู่ที่โรงพยาบาลในลักษณะที่เป็น Physical centric ขณะที่ยุคที่ 2 เป็นยุค Health 2.0 เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บข้อมูลคนไข้ในลักษณะเป็นเวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์และเวชทะเบียนส่วน บุคคล (Electronics Medical Records & Personal Health Records) รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการและการบริหารงานในโรงพยาบาลและสาธารณสุข มีการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วงของการโอนถ่ายการใช้เทคโนโลยี มาสู่ Health 2.0

อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้วงการแพทย์มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค Health 3.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลและช่วยจัดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริการทางการแพทย์มุ่งสู่การให้บริการปัจเจกชน โดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการดูแลรักษาสุขภาพ หรือ Patient centric ที่การรักษาพยาบาลรวมถึงการจ่ายยาสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย

เทคโนโลยีมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อสังคมเป็นอย่างมาก เพราะมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งเล่นเกม พิมพ์งาน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งยังมีอีกหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยเหล่านี้หากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจเกิดโทษได้เช่นเดียวกัน เพราะการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ซึ่งการนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หากนั่งในท่าไม่เหมาะสม หน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตา อาจทำให้กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือและปวดหลังได้ ที่พบบ่อย คือ อาการปวดคอ มีอาการตึงเมื่อย เพราะอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ พบมากในคนที่ทำงานออฟฟิศต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ดังนั้นท่านั่งจึงมีความสำคัญเวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต้องไม่ก้มหน้ามาก หน้าจอควรอยู่ในระดับสายตา ไม่อยู่ไกลสายตาจนเกินไป คีย์บอร์ดต้องอยู่ในระดับพอดี สูงกว่าเข่านิดหน่อย เพราะถ้าคีย์บอร์ดอยู่สูงเกินไปต้องยกไหล่ขึ้นอาจทำให้ปวดเมื่อยได้ สำหรับการเล่นเกม อัพเดทข้อมูลบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หากอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานอาจทำให้ปวดคอ ปวดหลังได้เช่นกัน และการใช้นิ้วมือเป็นเวลานานจะทำให้ปวดเมื่อยข้อนิ้วมือ

ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่กล่าวมามีดังนี้
1.ควรใช้เวลาทำงานหรือเล่นกับคอมพิวเตอร์ 25–30 นาที ในแต่ละช่วงและพัก 1–5 นาที
2.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 20–26 นิ้ว
3.วางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้อยู่ต่ำกว่าศอก
4.แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลัง ที่สำคัญไม่ควรส่องเข้าหาจอคอมพิวเตอร์
5.ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของห้อง
6.ปรับความถี่ของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ 70–80 เฮิรตซ์ หรือปรับให้สูงสุดเท่าที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตา
7.การใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว
8.ใช้แผ่นกรองแสง และดูแลหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีฝุ่นเกาะติด เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจน
ฉะนั้นการใช้เทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อจะได้ไม่ส่งผลเสียต่อตนเอง เพราะหากใช้เทคโนโลยีเป็นเวลานานๆก็จะส่งผลเสียตามมาแต่หากใช้ในทางที่ถูกต้องก็จะเกิดประโยชน์สำหรับตนเองอีกด้วย

รู้หรือไม่เทคโนโลยีในปัจจุบันต่างๆอาจทำหลายสุขภาพของเราได้

1

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราค่อนข้างมาก แม้ว่าจะช่วยอำนวยความ สะดวกสบายให้ชีวิตดียิ่งขึ้น หากแต่การใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น และเกินกว่าที่ร่างกายจะรับได้ กลับส่งผลเสียต่อสุขภาพก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยนานัปการ เชื่อหรือไม่ว่าการใช้โทรศัพท์พูดคุยกันตลอดเวลานั้นสามารถทำร้ายหูของเราได้ ดังกรณีของคนที่เคย ใช้โทรศัพท์มือถือนานกว่า 3,000 นาที (ประมาณ 50 ชั่วโมง) ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนอาจส่งผลให้หูสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หรือเรียกว่าอาการหูดับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะก็จะกลับมาได้ยินเป็นปกติแต่อาจจะไม่ชัดเจนเท่า เดิม และอาจมีโอกาสเกิดอาการหูดับได้อีก นอกจากนี้เครื่องเล่นเพลงชนิดพกพาและโทรศัพท์มือถือ ยังก่อให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกัน เนื่องจากเสียง ความร้อน และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าล้วนเป็นตัวการทำร้ายระบบการได้ยิน ซึ่งทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

หูดับและหนวก การใช้โทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์ เข้าไปรบกวน ระบบการทำงานของคลื่นไฟฟ้าและอิเล็กทรอไลต์ในหู รวมทั้งทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในหูสั่นสะเทือน ส่งผลให้เกิดความร้อนภายในหู จนสามารถทำลายเซลล์ประสาทหูได้ ความดังที่เหมาะสมต่อสุขภาพหูคือ ไม่ควรเกิน 70 เดซิเบล แต่ในการใช้หูฟัง คนส่วนใหญ่จะต้องเปิด เสียงให้ดังกว่าเสียงแวดล้อมประมาณ 10 เดซิเบลขึ้นไปจึงจะได้ยินชัดเจน ฉะนั้น การอยู่ในที่ที่เสียงแวดล้อมมีความดังมาก เช่น บนเครื่องบิน ในรถโดยสาร บริเวณสถานีรถไฟฟ้า (ประมาณ 95 เดซิเบล) ฯลฯ จึงยิ่งต้องเปิดเสียงให้ดังมากกว่าปกติ คลื่นเสียงที่ดังมากจึงเข้าไปทำปฏิกิริยากับแก้วหูและทำลายเซลล์ประสาทหู สาเหตุทั้งสองประการทำให้ ระบบการแยกเสียงในเบื้องต้นเสียก่อน จะเริ่มสูญเสียการได้ยินทีละน้อย ซึ่งทำให้เกิดอาการหูดับชั่วคราวหรือร้ายแรงจนถึงขั้นหูหนวก

ปวดศีรษะ การใช้งานโทรศัพท์เป็นเวลานาน ทำให้แบตเตอรี่เกิดความร้อน ส่งผลให้หูและศีรษะสัมผัส ความร้อนโดยตรง แม้จะยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบจากความร้อนที่ชัดเจน แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาหูร้อนสะสม จนลามเป็นอาการปวดศีรษะ ผิวหนังอักเสบ การใช้หูฟังชนิดครอบทำให้ที่ครอบกดใบหูแนบกับเนื้อบริเวณด้านหลังใบหู นอกจากทำให้เจ็บกระดูกหูแล้ว หากใช้เป็นเวลานานจนเกิดความร้อน จะทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวอักเสบ และติดเชื้อลุกลามจนสามารถทำให้หูอักเสบได้ วิธีฉลาดใช้เพื่อสุขภาพ ควรฟังเพลงจากลำโพงแทนการใช้หูฟัง หลีกเลี่ยงการฟังเพลงโดยใช้หูฟังในที่ที่มีเสียงแวดล้อมดัง หากใช้หูฟังควรเปิดระดับเสียงประมาณครึ่งหนึ่งของเสียงที่เครื่องมีอยู่โดยใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ หลีกเลี่ยงการฟังเพลงขณะนอนหลับ โดยเฉพาะเพลงที่มีจังหวะเร็วหรือหนัก เพราะทำให้อวัยวะในหูสั่น สะเทือนและสมองตื่นตัวตลอดเวลา

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางสุขภาพ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางสุขภาพ

เทคโนโลยีทางสุขภาพหมายถึง การรวบรวมความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพใน การดูแล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายทั้งนี้เพื่อให้บุคคลหรือชุมชนมีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิต ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก คุณค่าของเทคโนโลยีทางสุขภาพเทคโนโลยีทางสุขภาพมีคุณค่าต่อวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในภาพรวม ดังนี้ ด้านคุณภาพชีวิตความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนั้น ช่วยให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย ด้านประสิทธิภาพของงาน  การนำเทคโนโลยีทางสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ด้านประสิทธิผลของผลผลิตเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่วยให้การศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักวิชาการทางสุขภาพในหลากหลายสาขาวิชา สามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ด้านความประหยัดการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการทำงาน รวมถึงช่วยให้บุคคลสามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางสุขภาพได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราอย่างมาก โดยจะขอยกตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นทางสุขภาพมานำเสนอเป็นบางประเด็น ดังนี้ ในร่างกายของคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทีรย์นั้น มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ เช่น ทำให้มีตาสีฟ้า ตาสีดำ เป็นต้น ซึ่งหน่วยพันธุกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายีนโดยยีนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ DNAถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางสุขภาพจะมีคุณค่าในการช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ตาม แต่หากมนุษย์ไม่รู้จักตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพให้เหมาะสมและถูกต้อง อันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ วิวัฒนาการทางการแพทย์ของไทยนั้น มีการพัฒนามาตามลำดับ นับจากการใช้การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่สมัยอดีตในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและเมื่อมีการเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก ก็ได้มีการนำการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย

ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพ

ภัยที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ไม่ได้มีเพียงแต่ภัยคุกคามหรือภัยแฝงจากสื่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ผลกระทบโดยตรงที่ผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับคือผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกาย ใจ และผลกระทบต่อสังคมรอบข้างซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเองนั้นมักไม่รู้ตัวจนกว่าจะเกิดปัญหาเหล่านั้นขึ้น ประชาชนผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต จึงควรระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างเหมาะสม ถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดผลเสียต่อสุขภาพซึ่งอาจร้ายแรงจนเกินกว่าจะรักษาได้ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง เช่น ดวงตาหรือระบบประสาท เกิดโรคที่เกิดจากท่านั่ง เช่น กลุ่มอาการปวดข้อต่างๆ หรือโรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ เช่น โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์

1) ผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง ดวงตา กล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมื่อยตา สายตาเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคนี้คือ ปวดตา เมื่อยตา ตาแห้ง ถ้าอาการเป็นมากยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาเสื่อมลงด้วย เนื่องจากขณะใช้คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหน้าจอที่มีตัวหนังสือหรือภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติของการกระพริบตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตาแห้ง และหากดวงตาอยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยหรือตาแห้ง ก็จะทำให้สายตาเสื่อมลง

ระบบประสาท จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ แม้ว่ารังสีชนิดต่างๆจากหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีความปลอดภัยก็ตาม แต่การรับการแผ่รังสีเป็นเวลานานก็อาจจะส่งผลกระทบถึงระบบประสาทของมนุษย์ ได้เช่นกัน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อึดอัด และนอนไม่หลับ เป็นต้น

2) โรคที่เกิดจากท่านั่งหรือการทำงานซ้ำซาก โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมากๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หาย

อาการ Repetitive Strain Injury หรือ RSI สามารถเป็นได้กับทุกส่วนของร่างกายจากการนั่งทำงานหน้าเครื่อง คอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และสายตา เนื่องจากอวัยวะส่วนที่มีปัญหาถูกวางค้าง ถูกทิ้งน้ำหนัก หรือกดทับนานๆ จนอักเสบ หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น

กลุ่มอาการปวดข้อ เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา สาเหตุ เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์โดยมีข้อมือเป็นจุดหมุน อาจเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้

การรักษาโรคที่กล่าวมาข้างต้น หากเริ่มมีอาการอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดและหยุดการเคลื่อนไหวโดยการพักข้อ มือ อาการก็อาจทุเลาลงได้ อาการปวดจะหายไปในที่สุด หากปวดบวม ให้รับประทานยาระงับปวดและอาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีดยา กลุ่มสเตียรอยด์เข้าบริเวณข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานานอาจจำเป็นต้องผ่าตัดจึงจะได้ผลดี

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนั้นนอกจากมีประโยชน์แล้วก็ยังมีโทษต่อสุชภาพด้วย แต่ถ้าเรารู้จักใช้และรักษาสุขภาพของเราให้ดีก็จะช่วยบรรเทาได้เหมือนกัน